ตามที่ทางสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยได้เข้าพบและปรึกษาข้อมูลด้านการใช้แอลกอฮอล์ Ethanol กับทางกรมสรรพสามิต ทางสมาคมฯ ได้รับการชี้แจงข้อมูลดังภาพด้านล่าง จึงขอแจ้งให้สมาชิกทุกท่านทราบ
หากสมาชิกท่านใดพบปัญหาในการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Ethanol ในเครื่องสำอาง สามารถติดต่อมายังสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเพื่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ที่มา : เว็ปไซค์ https://www.thansettakij.com/business/484075 วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา ออกมาสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับการแปรรูปกัญชา กัญชง เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยังติดขัดในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการขออนุญาตนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า
ได้ออกกฎหมายรองรับการปลดล็อก กัญชา กัญชง ให้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้แล้ว กรณีการนำไปใช้ในเครื่องสำอาง กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการใช้น้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงส่วนของกัญชาส่วนของกัญชง
รวมทั้งสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล(จากกัญชาและกัญชง)แล้วและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค คณะกรรมการเครื่องสำอางยังได้ออกประกาศให้แสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางดังกล่าวด้วย
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร อย. ได้จัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 โดยปลดล็อค กัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ให้สามารถนำมาใช้ในอาหาร
ที่มา : เว็ปไซค์ https://www.thansettakij.com/content/480391 วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้กัญชา กัญชง ในเครื่องสำอางและขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ อนุญาตการกัญชา กัญชง ในเครื่องสำอาง และขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร จำนวน 5 ฉบับ โดยมีใจความสำคัญดังนี้
ตามที่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ได้จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “ความคืบหน้ากฎหมายเครื่องสำอาง” ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 – 12.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams นั้น
ในการนี้ ผู้จัดสัมมนาฯ จึงขอนำส่งลิงค์ไฟล์นำเสนอสำหรับการสัมมนา โดยทุกท่านสามารถพิมพ์เอกสารสัมมนาฯ ได้ และขอแจ้งนำเสนอในหัวข้อ “หลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องสำอางในประเทศไทยและร่างคู่มือโฆษณา” ของ ภญ.ดร.นีรนารถ จิณะไชย ยังไม่สามารถเปิดให้ดาวน์โหลดเอกสารได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการขออนุญาต อย. ในการเผยแพร่ข้อมูล หากมีความคืบหน้าจะจ้งให้ทุกท่านได้รับทราบ และได้ทำการอัพโหลดไฟล์วิดีโอสัมมนาไว้ใน Google Drive รายละเอียดตามข้อมูลด้านล่างค่ะ
Link ไฟล์นำเสนอและวิดีโอสัมมนา: https://drive.google.com/drive/folders/1e2tZfKjo7dBrpH4c54A7Oh8rEqvKZjPx?usp=sharing
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศ 3 ฉบับที่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ดังนี้
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสีที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๔
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อ ปริมาณ และเงื่อนไขของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๔
3. ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
หน้า 9 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,681 วันที่ 23 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
หลายธุรกิจบอบช้ำจากพิษโควิด-19 รายใดสายป่านยาวก็ยังพอประคองตัวอยู่ได้ แต่หลายรายสายป่านสั้นมีอันต้องปิดตัวไป
ขณะที่อีกหลายธุรกิจกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีที่กำลังจะเติบโตมีอันต้องชะงักและต้องดิ้นปรับตัวเองเพื่อไปต่อ โดยหนึ่งในนั้นคือกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ที่แม้ตลาดจีนให้ความสนใจแต่ต้องชะลอตัวลงเช่นกัน
นายอรรณพ อารัญญิก ประธานกรรมการบริษัท เอเบิลสทรอง จำกัด และอดีตประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หนึ่งในนักธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการปรับตัวของบริษัทและฝากการบ้านถึงรัฐบาลเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการรับมือสู้โควิด รวมถึงภารกิจเร่งด่วนหลังฉีดวัคซีนต้านโควิด
หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,594 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563
สถานการณ์โควิด-19 ในไทยและอีกหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย ขณะที่สถานการณ์ฝั่งอเมริกาและยุโรปหลายประเทศยังน่าห่วง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในหลายสินค้ามียอดขายจากตลาดในประเทศและยอดส่งออกที่หดตัวลงตามกำลังซื้อของผู้บริโภค และจากยังมีการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ ส่งผลผู้บริโภคลดการเดินทางในการออกไปจับจ่ายใช้สอย แต่สำหรับสินค้าเครื่องสำอางและความงามแล้ว ไม่ว่าจะมีสถานการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ผู้คนทั่วโลกก็ยังต้องการที่จะดูดี
นางเกศมณี เลิศกิจจา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แม้ในครึ่งแรกปี 2563 ต่อเนื่องถึงเวลานี้ไทยและอีกหลายประเทศยังมีสถานการณ์โควิด แต่ถือว่าคลี่คลายลง และธุรกิจ ห้างร้านต่างๆ ได้เริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามปกติในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) คาดจะส่งผลให้ธุรกิจเครื่องสำอางและความงามของไทยนับจากนี้จะกลับมาขยายตัวได้ขึ้น
เว็ปไซค์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทย พบว่า สินค้าเครื่องสำอาง อาทิ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและตกแต่งหน้า สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน และวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องสำอาง เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องสำอางอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และเป็นอันดับที่ 10 ของโลก
© Copyright 2022 สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย Website Stats